แฉหลักฐาน! เทปสนทนาลับปมขีปนาวุธ “ทอรัส” ป่วนการเมืองเยอรมัน

ความคืบหน้าสถานการณ์สู้รบรัสเซียยูเครน ล่าสุดฝ่ายรัสเซียได้ออกมาเปิดหลักฐานที่อาจถูกใช้เป็นข้ออ้างว่า ชาติสมาชิกนาโตบางรายอาจเข้าไปมีส่วนร่วมวางแผนในการบั่นทอนรัสเซียด้วย

หลักฐานดังกล่าวที่อาจถูกยกขึ้นมาอ้างคือ เทปการสนทนาของเจ้าหน้าระดับสูงทางการทหารของเยอรมนีที่รั่วไหลออกมา เทปดังกล่าวมีความยาว 38 นาที เป็นบทสนทนาระหว่างผู้บัญชาการกองทัพอากาศของเยอรมนีและเจ้าหน้าที่ทางการทหารระดับสูงอีก 3 ราย ซึ่งกำลังหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดส่งขีปนาวุธพิสัยไกล “ทอรัส” ให้แก่ยูเครน

รัสเซีย ส่งโดรนถล่มอะพาร์ตเมนต์ในโอเดสซา

นายกฯ เยอรมนี ยืนยันไม่ส่ง "ทอรัส" ขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครน

โดยขีปนาวุธพิสัยไกล “ทอรัส” คือขีปนาวุธประสิทธิภาพสูงที่ยูเครนร้องขอมาเป็นเวลาหลายเดือนและกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งหลังมีสัญญาณว่า สหรัฐฯ อาจอ่อนแรงในการสนับสนุนด้านอาวุธและเป็นยุโรปที่ต้องหันมายกกระดับการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ยูเครนคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีปฏิเสธความเป็นไปได้ในการส่งทอรัสอย่างหนักแน่นมาตลอดโดยระบุสาเหตุว่า เนื่องจากทอรัสมีพิสัยทำการไกลมากถึง 500 กิโลเมตร ซึ่งสามารถโจมตีลึกเข้าไปบนแผ่นดินรัสเซียได้ และสุ่มเสี่ยงที่จะลากเยอรมนีเข้าไปเผชิญหน้ากับรัสเซียโดยตรง เพราะต้องใช้เจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพเยอรมนีเพื่อช่วยเหลือในการควบคุมและกำหนดเป้าหมาย

บทสนทนาที่รั่วไหลออกมาไม่เพียงกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการส่งขีปนาวุธทอรัสให้แก่ยูเครนเท่านั้น แต่ยังระบุถึงเป้าหมายการโจมตีที่เป็นไปได้ จำนวนขีปนาวุธที่ต้องใช้ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดตามมา นั่นก็คือสะพานเคียร์ช สะพานสำคัญความยาว 19 กิโลเมตรที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินใหญ่รัสเซียและคาบสมุทรไครเมียที่รัสเซียผนวกไปจากยูเครนอย่างผิดกฎหมายเมื่อปี 2014

ซึ่งรัสเซียใช้สะพานแห่งนี้ในการขนส่งอาวุธและกำลังบำรุงจากรัสเซียเข้าสู่ไครเมีย ก่อนที่จะถูกลำเลียงต่อไปสู่พื้นที่ยึดครองในยูเครน เจ้าหน้าที่ทางการทหารรายหนึ่งที่อยู่ในวงสนทนาระบุถึงความเป็นไปได้ในทางหลักการว่า อาจต้องใช้ขีปนาวุธ 10-20 ลูก หากจะโจมตีสะพานเคียร์ช อย่างไรก็ดี บทสนทนานี้ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าเยอรมนีจะส่งขีปนาวุธทอรัสให้แก่ยูเครนหรือไม่

คำถามคือ เทปการสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเยอรมมีรั่วไหลออกมาได้อย่างไร ครั้งแรกที่เทปบทสนทนาลับถูกปล่อยออกมาคือเมื่อวันศุกร์ที่ 1 มีนาคมผ่านทางช่องทางเทเลแกรม ส่วนผู้ที่เผยแพร่คือ มาร์การิตา ซีมอนยาน บรรณาธิการบริหารของ RT หรือ Russia Today สื่อที่ควบคุมโดยรัฐบาลรัสเซีย พร้อมอ้างว่า นี่คือหลักฐานว่าเยอรมนีมีแผนจะโจมตีไปบนคาบสมุทรไครเมีย

ด้านนิตยสาร แดร์ ชปีเกล (Der Spiegel) ของเยอรมนีระบุว่า บทสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่ทางการทหารระดับสูง เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มสื่อสารสัญชาติสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า Webex ไม่ใช่ช่องทางสื่อสารภายในของกองทัพ

การรั่วไหลของเทปบันทึกบทสนทนาลับในกองทัพเยอรมนี สร้างความแตกตื่นอย่างมาก โดยหลังจากมีกระแสข่าว นายกรัฐมนตรีเยอรมนีก็ออกมาแถลงทันทีว่า นี่เป็นเรื่องร้ายแรงและต้องมีการสอบสวน

ขณะที่โฆษกประจำกระทรวงกลาโหมเยอรมนีระบุว่า สาเหตุที่บทสนทนารั่วไหลออกมาเป็นเพราะถูกดักฟัง และหน่วยต่อต้านข่าวกรองกำลังสอบสวนที่มาที่ไป โดยยังไม่สามารถระบุว่าเสียงบทสนทนาที่หลุดออกมาผ่านการดัดแปลงแก้ไขหรือไม่

ด้าน เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีการต่างประเทศรัสเซียออกมากล่าวหาว่า นี่เป็นการเผยตัวของกองทัพเยอรมนีว่ากำลังวางแผนเล่ห์กลเพื่อโจมตีสะพานเคียร์ช รวมถึงเป้าหมายอื่นๆ บนคาบสมุทรไครเมีย

คำถามคือ รัสเซียจะใช้ประเด็นการหารือเกี่ยวกับการส่งขีปนาวุธทอรัสมาเป็นข้ออ้างในการขยายขอบเขตสงครามจริงหรือไม่หลายฝ่ายระบุว่า ไม่น่าเป็นไปได้ โดยคาดว่าเป้าหมายการปล่อยคลิปออกมาอาจเป็นไปเพื่อทำสงครามข้อมูลข่าวสาร สร้างความปั่นป่วนในการเมืองในเยอรมนีมากกว่า เพราะขณะนี้ความเห็นในรัฐสภาเยอรมนี แม้กระทั่งภายในพรรคร่วมรัฐบาลกันเอง ก็เกิดเสียงแตกอย่างมากว่าควรจะส่งทอรัสให้แก่ยูเครนหรือไม่

ซึ่งสะท้อนว่า ยิ่งนานวัน มิติของการทำสงครามยิ่งทวีความซับซ้อนมากขึ้น โดยการโจมตีด้วยข้อมูลข่าวสารก็เป็นส่วนหนึ่งของสงครามเช่นกัน ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การสู้รบในสมรภูมิเท่านั้น

ล่าสุด บอริส พิทอริอุส รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี ได้ออกมากล่าวหาว่า การปล่อยเทปบทสนาทนาลับไม่ใช่แค่การดักฟังเฉยๆ แต่เป็นความพยายามในการทำสงครามข้อมูลข่าวสารของรัสเซีย เพื่อบั่นทอนความเป็นหนึ่งเดียวในการเมืองเยอรมนี

ส่วนอีกผลกระทบหนึ่งที่อาจตามมา นักวิเคราะห์บางส่วนได้ระบุต่อ Wall Street Journal ว่า นี่อาจทำให้โอกาสที่ยูเครนจะได้รับขีปนาวุธทอรัสจากเยอรมนีลดลงไปยิ่งกว่าเดิม เพราะเยอรมนีอาจระมัดระวังมากขึ้น

ล่าสุดเริ่มมีสัญญาณตึงเครียดเกิดขึ้น โดยกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้เรียกตัวเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำรัสเซียเข้าพบ ทั้งนี้ หลังการเรียกตัว เอกอัครราชทูตเยอรมนีไม่ได้ตอบคำถามต่อสื่อเกี่ยวกับรายละเอียดในการพูดคุยกับกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย

รัสเซียส่งโดรนพลีชีพเข้ามาโจมตีที่แคว้นโอเดสซาครั้งล่าสุดเมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา พื้นที่หนึ่งที่ได้รับความเสียหายหนักคือ อะพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในเมือง โดยโดรนได้พุ่งชนจนส่วนหนึ่งของอาคารพังทลายลง ซากอิฐจากอาคารกระจายไปทั่วพื้นที่ ส่งผลให้มีประชาชนบางส่วนติดอยู่ภายใต้ซากอาคาร

ล่าสุดเมื่อวานนี้หลังเจ้าหน้าที่กู้ภัยดำเนินการช่วยเหลือและค้นหาร่างผู้ที่ติดอยู่ในอาคาร มีรายงานว่ายอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นไปเป็น 12 ราย โดยผู้เสียชีวิตที่เจ้าหน้าที่พบและสามารถพาร่างออกมาจากซากอาคารได้ล่าสุดคือ แม่และเด็กทารกอายุ 8 เดือน

นอกเหนือจากแคว้นโอเดสซา รัสเซียยังคงโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่องในพื้นที่แคว้นโดเนตสก์ทางภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลจากแนวรบ ล่าสุดเมื่อวานนี้ หน่วยงานตำรวจประจำแคว้นโดเนตสก์รายงานว่า พื้นที่ที่ตกเป็นเป้าการโจมตีคือ โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองมีร์โนฮราด จากภาพจะเห็นว่า แรงระเบิดส่งผลให้หน้าต่างบางส่วนหลุดออกมาจากอาคาร ขณะที่สิ่งของภายในห้องเรียนบางส่วนกระจัดกระจายและเสียหาย

ส่วนอีกพื้นที่หนึ่งที่มีรายงานการโจมตีคือ ที่เมืองโปครอฟสก์ โดยขีปนาวุธได้ตกลงบริเวณใกล้กับอาคารที่อยู่อาคารแห่งหนึ่งใจกลางเมือง ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บจากทั้งสองเมืองนี้มีทั้งหมดรวม 6 คน และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

การโจมตีทางอากาศที่เริ่มกลับมารุนแรงอีกครั้ง ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการป้องกันทางอากาศของยูเครนที่อ่อนแรงลง รวมถึงจรวดที่ใช้ในการโจมตีสกัดที่ร่อยหรอลงเรื่อยๆ นี่จึงทำให้ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ออกมาระบุว่า ชาติพันธมิตรต้องไม่หนุนหลังรัสเซียอ้อมๆ ด้วยการไม่ตัดสินใจส่งความช่วยเหลือให้แก่ยูเครน หรือตัดสินใจล่าช้า

และสิ่งที่จะทำให้รัสเซียพ่ายแพ้ได้ในที่สุดคือ เจตจำนงทางการเมืองในการส่งความช่วยเหลือต่างๆ ให้แก่ยูเครน ซึ่งจะช่วยให้ยูเครนป้องกันการโจมตีได้ และสามารถต้านทานกองทัพรัสเซียในสนามรบได้

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานเมื่อช่วงเช้าวานนี้ โดยอ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียว่า ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียสามารถสกัดโดรนที่เข้ามาโจมตีบนคาบสมุทรไครเมียได้ 38 ลำ ซึ่งเป็นจำนวนทั้งหมดที่รัสเซียอ้างว่ายูเครนส่งมาโดยที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียไม่ได้ระบุว่าเกิดความเสียหายหรือมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่

อย่างไรก็ตาม วิดีโอบนโซเชียลมีเดียที่เผยแพร่โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรไครเมียเผยให้เห็นว่า เกิดการระเบิดครั้งรุนแรงขึ้นจนเห็นเป็นประกายสีแดงบนท้องฟ้า มีรายงานว่าการระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงเวลา 02.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ส่วนสถานที่ที่คาดว่าเกิดระเบิดคือ ท่าเรือและคลังน้ำมันที่เมืองฟีโอดอซียา ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้บนคาบสมุทรไครเมีย

หลังจากนั้น การจราจรบนถนนในเมืองก็ยุติลงชั่วคราว รวมถึงการสัญจรบนสะพานเคียร์ช ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินรัสเซียและคาบสมุทรไครเมีย ก่อนที่จะเปิดทำการตามปกติอีกครั้ง

ผลบอลพรีเมียร์ลีก แมนซิตี้ แซงชนะ แมนยู 3-1 โฟเด้น เบิ้ล

“โยเกิร์ต” มูฟออน! ลบเกลี้ยงทุกอย่างเกี่ยว “พีเค” ด้านนางแบบเวียดนามเคลื่อนไหว หลังถูกเอี่ยวดราม่า

กยศ.คืนเงินลูกหนี้ 3,494 ราย 97 ล้านบาท หลังใช้เกณฑ์คำนวณหนี้ใหม่

Back To Top